วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาการเสียของพาวเวอร์ซัพพลาย

 Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป

Power Supply มี 2 แบบ
          แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
          แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
                 2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
                 2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case (ราคาประมาณ 450 บาท)
                 2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ (ราคาประมาณ 600-800 บาท)

          * ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้

การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
          ดำ + ดำ = 0 V
          ดำ + แดง = 5 V
          ดำ + ขาว = -5 V
          ดำ + น้ำเงิน = -12 V
          ดำ + ส้ม = 5 V
          ดำ + เหลือง = 3.3 V
          ดำ + น้ำตาล = 12 V

          * เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -

          *AC=220 V (L กับ N)
          L1 380 Vac
          L2 380 Vac
          L3 380 Vac
          N Nutron , G ไม่มีไฟ
          *230W (23A) - 300W (30A)
          โดย W=V*I    


ส่วนของ Power Supply ที่สามารถตรวจซ่อมได้ 
          1. Fuse
          2. Bridge
          3. Switching
          4. IC Regulator
          5. C ตัวใหญ่
          6. IC    

Chart ประกอบการตรวจเช็ค Power Supply


วงจรเพาเวอร์ซัพพลาย (Block Diagram)  


วิเคราะห์อาการเสียของ Power Supply อย่างง่ายๆ

พาวเวอร์ซัพพลาย (power supply)
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก
ชนิด (ไม่ใช่เฉพาะคอมพิวเตอร์นะครับ) หน้าที่โดยรวมๆ
ของพาวเวอร์ซัพพลาย คือการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
เพื่อให้มันทำงานได้
ถ้าจะให้เปรียบก็คงเหมือนกับระบบย่อยอาหารของคนเรานั่นแหละครับ















พาวเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน
คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 5 โวลต์ และ 12
โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ
โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2
ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
ส่วนมากอาการเสียที่มักจะสันนิษฐานว่า เกิดจากพาวเวอร์ซัพพลาย
ก็คือ การเปิดเครื่องแล้วไม่ติด
พัดลมด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายไม่หมุน
ในกรณีนี้ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
ที่เรียกว่ามัลติมิเตอร์
เราจะไม่สามารถหาพบได้เลยว่าพาวเวอร์ซัพพลายเสียที่จุดใด

รู้จักมัลติมิเตอร์



มัลติมิเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่เป็นเข็ม
และแบบตัวเลข (Digital) แบบที่เป็นเข็มนั้นมีราคาค่อนข้างถูก
แต่ว่าความเที่ยงตรงจะไม่ค่อยมี
ส่วนแบบดิจิตอลนั้นความเที่ยงตรงมีมากกว่า
แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย
สำหรับมือใหม่หัดซ่อมอย่างเราก็เล่นแบบเข็มก็พอครับ 












มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ใช้วัดได้ทั้งไฟตรง

ไฟสลับ สายไฟ และความต้านทาน ราคา

ถูกแต่ไม่ค่อยแม่นยำนัก

เอาละ เรามาดูวิธีการใช้มัลติมิเตอร์แบบง่ายๆ กันเลย
ก่อนอื่นให้คุณนำสายสีแดงเสียบในช่องที่เป็นสีแดง
และนำสายสีดำเสียบในช่องที่เป็นสีดำ (อย่าสลับกันนะครับ)
หน่วยวัดของมัลติมิเตอร์นั้น จะมีหน่วยเป็นโอห์ม
หมายถึงค่าของความต้านทานของตัวนำนั่นเอง
ตัวนำที่ดีที่สุดจะต้องไม่มีความต้านทานอยู่เลย

ส่วนถัดมาของมัลติมิเตอร์ คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสตรง หรือ
DC โวลต์ สายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกจ่ายออกมาเป็น 2
แรงดันคือ สายสีแดงจ่ายไฟ 5 โวลต์ และสายสีเหลือง จ่ายไฟ 12
โวลต์ เวลาที่คุณต้องการวัดว่า
มีกระแสไฟออกมาจากพาวเวอร์ซัพพลายหรือไม่
ให้คุณปรับตัวบิดไปที่ตัวเลขที่ใกล้เคียงสูงกว่า
สายเส้นที่คุณจะวัด เช่น คุณต้องการวัดสายแดงที่จ่ายไฟ 5 โวลต์
ให้คุณปรับไปที่เลข 10 เพื่อป้องกันมัลติมิเตอร์พัง
เพราะกระแสเกิน

อีกส่วนของมัลติมิเตอร์ ก็คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
โดยปกติแล้วไฟบ้านเราจะใช้แรงดันไฟที่ 220 โวลต์
ใช้ในเวลาที่คุณต้องการจะวัดสายไฟที่ต่อออกจากไฟบ้านเข้าพาวเวอ
ร์ซัพพลายว่ามีไฟเข้าหรือไม่



หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย



พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX
นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240
โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด
แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output
เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์
อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ
220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ
ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply )
และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ
โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ
่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ
โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด
Switching
ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว
หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง 












รายละเอียดต่างๆ ของมัลติมิเตอร์












ส่วนประกอบต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
และหน้าที่การทำงาน

เอาละครับ เรารู้หลักการทำงานคร่าวๆ ของ Power supply แล้ว
เรามาดูถึงอาการเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ถ้าจะวิเคราะห์อาการเสียอย่างง่ายๆ ก็มี เช่น

  • เปิดแล้ว พัดลมไม่หมุนแต่เครื่องติด


    หากอาการแบบนี้ให้คุณทราบไว้เลยว่า
    พัดลมระบายความร้อนในพาวเวอร์ซัพพลายของคุณนั้นมันเกิดอาการเสี
    ยซะแล้ว อาจเป็นเพราะเกิดการฝืดเนื่องจากมีฝุ่น
    หรือหยากไย่เข้าไปค้างอยู่ หากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้
    พาวเวอร์ซัพพลายของคุณพังได้ วิธีแก้ก็คือให้คุณ
    ตัดเอาพัดลมพร้อมสายไฟออกแล้วเดินไปที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอ
    นิกส์ (แถวบ้านหม้อก็ได้)
    แล้วยื่นพัดลมให้คนขายดูเขาก็จะหยิบตัวใหม่ที่เหมือนกันเปี๊ยบม
    าให้คุณ คุณก็เอากลับไปต่อกับตัวพาวเวอร์ได้เหมือนเดิม
    แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า
    ราคาพัดลมกับพาวเวอร์ซัพพลายตัวใหม่นั้นมีราคาใกล้เคียงกันมากท
    ีเดียว แต่ลองหัดซ่อมดูก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะครับ

  • เปิดแล้วเครื่องไม่ติดพัดลมไม่หมุน


    หากเกิดอาการอย่างนี้อย่าเพิ่งสรุปนะครับว่า
    พาวเวอร์ซัพพลายของคุณเสีย
    เพราะอย่างที่บอกไว้ในหัวข้อข้างต้นก็คือ Power supply แบบ
    Switching นั้น
    สามารถที่จะตัดกระแสไฟได้ถ้าหากมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากตัวมันไปช
    ำรุด
    ดังนั้นวิธีเช็กก็คือให้คุณถอดอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากพาวเวอร์ซัพพ
    ลายทั้งหมดออกมาก่อนแล้วเปิดดู หากพัดลมติด
    และใช้มัลติมิเตอร์วัดดู
    ถ้าเข็มแสดงว่ามีไฟเลี้ยงเข้าแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของ
    คุณนั้นเกิดอาการชำรุดหรือช็อต
    วิธีทดสอบก็คือให้เสียบไฟโหลดนั้นทีละตัว
    แล้วเปิดดูหากอุปกรณ์ชิ้นไหนชำรุดพาวเวอร์ซัพพลายก็จะไม่หมุน
    (ตัวอย่างที่พบกันบ่อยๆ ก็คือคุณประกอบเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
    โดยที่ไม่ได้ใช้แผ่นโฟมหรือขาพลาสติกรอง
    ทำให้ลายวงจรของเมนบอร์ด
    เกิดการสัมผัสกับตัวเคสที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้เกิดการลัดวงจรขึ
    ้น
    ดังนั้นถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ให้คุณรีบปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายโดยเ
    ร็ว และใช้แผ่นโฟมหรือแหวนรองน็อต
    ใส่ก่อนทุกครั้งที่ประกอบเครื่องลงเคส
    ไม่งั้นคุณอาจต้องน้ำตาร่วงเพราะเสียเงินซื้อเมนบอร์ดใหม่)











    วิธีวัดพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้ามีเข็มขึ้น
    แสดงว่าพาวเวอร์ซัพพลายของคุณปกติ



    สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่ฟิวส์ที่อยู่ภาพในตัวพาวเวอร์ซัพ
    พลายเองขาด วิธีดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ก็ให้ดูด้วยตาเปล่า
    หรือถ้ามีเขม่าจบในฟิวส์มากๆ
    ก็ให้ถอดฟิวส์ออกมาวัดโดยวัดจากค่าความต้านทานในฟิวส์
    ตรงนี้คุณต้องถอดออกมาจากวงจรนะครับ ถึงจะวัดได้
    ถ้าไม่มีความต้านทานขั้นก็แสดงว่าฟิวส์ขาด แต่ถ้าฟิวส์ไม่ขาด
    แล้วยังไม่มีไฟเข้าที่พาวเวอร์ซัพพลายอีก สาเหตุน่าจะมาจาก
    สายไฟที่คุณใช้ต่อไฟกระแสสลับเข้าสู่ไฟบ้านมีอาการชำรุด ขาดใน
    หรือแผงวงจรร หรือ
    อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งของพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหาย 
  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น