วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหา Power Supply จ่ายไฟไม่เพียงพอ


ปัญหา Power Supply จ่ายไฟไม่เพียงพอ


อาการ

เปิดติดแต่ไม่บู๊ต

หมายถึงเปิดแล้ว พัดลมของ เพาเวอร์ซัพพลาย หมุน แต่เครื่องไม่บู๊ต เป็นไปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่สามารถจ่ายไฟให้คอมพิวเตอร์ หรือจ่ายไฟได้ไม่พอ กรณีนี้ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะไม่เสีย แต่จ่ายไฟได้ไม่พอกับกำลังที่คอมพิวเตอร์ต้องการ



อุปกรณ์บางตัวในคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน

อุปกรณ์บางตัวไม่ทำงาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม การ์ดจอ ไม่ทำงาน สาเหตุอาจเกิดจาก เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์เหล่านั้นก็ได้ ตรวจสอบให้ก่อน อุปกรณ์อาจไม่เสีย แต่ที่เสียคือ เพาเวอร์ซัพพลาย



คอมดับพอเปิดสักพักก็ดับ พอเปิดอีกก็ดับไม่ได้ต้องถอดปลั๊กออก...แล้วเสียบใหม่ก็เปิดได้..แต่ก็ดับ

ตามหลักการ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ระบบระบายความร้อน ยังไม่ทำงานเต็มระบบนัก จึงยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มาก ต่อเมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ.

1. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวแปรที่ทำให้ระบบ สั่งงานให้พัดลมระบายความร้อน ทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะ ชุดระบายความร้อนของ CPU , การ์ดจอภาพ ( ถ้ามี ) ในชุด Power Supplyเอง ดังนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกดึงไปใช้ในการระบายความร้อน และ กำลังไฟที่เหลือไม่เพียงพอต่อการจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น Mainboard เป็นต้น.

2. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ทัน เนื่องจากระบบระบายความร้อนด้อยประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีระบบระบายความร้อนที่พอเพียง ระบบจะป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบ โดยการหยุดการทำงาน หรือ ตัดการจ่ายไฟเข้าระบบ

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ระบบจะหยุดการทำงาน มักจะเกิดอาการ Hang หรือ เครื่องดับไปเฉยๆ โดยที่ หลอดไฟ LED ที่แสดงสถานะไฟฟ้า หน้าเครื่อง ยังติดสว่างอยู่ หรือ ดับไป แต่ หลอดไฟLED ที่แสดงสถานะ Standby บน Mainboard ยังคงติดสว่างอยู่

ส่วนสาเหตุอื่นที่พิจารณาเป็นลำดับถัดๆ ไป คือ มีอุปกรณ์ในระบบเกิดอาการชำรุดเสียหาย เช่นMainboard ไหม้เนื่องจากไฟเกิน , Ram เสีย หรือ เกิดสนิม , Disk Drive หรือ Optical Drive อาจมีการชำรุดเสียหายส่งผลต่อระบบ การ์ดอื่นๆ อาจเกิดการชำรุดเสียหาย หรือ ท้ายที่สุดเกิดปัญหาจาก Software เป็นปัญหาได้.

ฝากข้อคิดให้กับท่านที่จะเลือกซื้อ power supply ดังนี้


          ๑. อย่าดูแค่ว่ากี่วัตต์ ดูให้ดี ๆ ว่าแผง 12v นะจ่ายกระแสพอไหม อุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มักกินไฟหนักที่ไฟตรงนี้ แนะนำว่ารวมกันประมาณ 25A ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย
          ๒. เล็งให้ดีว่าเครื่องของคุณเป็นแบบ 20 pin เข้า mainboard 4 pin เข้า CPU หรือเปล่า แล้วมาดูว่าเจ้า power supply เขาออกแบบมาให้เสียบได้ แบบนั้นไหม ถ้าไม่ตรงกันมันแยกออกมา หรือมีสายอีกชุดที่ีเสียบเข้าได้พอดีหรือเปล่า
          ๓. ถ้าต้องการชัวร์ ๆ อยากได้ของดีแน่ ๆ ให้เลือกจากยี่ห้อดังต่อไปนี้ Corsair, Enermax, SeaSonic, Power PC & Cooling, Silverstone, Tagan, FSP และ BFG tech ส่วน CoolMAX, Antec และ OCZ นั้นใช้ได้แต่ต้องดูเป็นรุ่น ๆ ไป ส่วนท่านที่แค่จะเน้นถูกและดี(สมราคา)นั้น ยี่ห้อDelta ทำในไทยนั้นทนทาน ใช้ได้เลย
          ๔. รุ่นที่ดีนั้นจะมี active PFC (Power Factor correction) ทำให้ประหยัดไฟขึ้น
          ๕. เลข 80 ที่อยู่ในกรอบข้างกล่องหมายถึงว่า รุ่นนั้นเขามีประสิทธิภาพสูงเกิน 80เปอร์เซ็นต์ จะประหยัดไฟกว่ารุ่นธรรมดา

          ๖. Watt มาก ๆ ไม่ได้หมายความว่าจะกินไฟมากกว่า เป็นสเปคที่บอกว่าจ่ายไฟได้สูงสุดเท่าไหร่เท่านั้น

          ๗. power supply มักจะออกแบบมาให้จ่ายไฟได้มีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่งของ rated watt เช่นรุ่น 500 Watt ก็จะไปทำงานได้ดีที่สุดช่วง 200-300 watt





เพาเวอร์ซัพพลาย : กี่วัตต์จึงจะพอ

มักจะมีคำถามว่า ควรใช้ เพาเวอร์ซัพพลายกี่วัตต์จึงจะพอ

ส่วนใหญ่ผู้ขายมักจะแนะนำให้ซื้อรุ่นที่มีวัตต์มาก ๆ เข้าไว้ เพื่อป้องกันปัญหาวัตต์ไม่พอ ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพลาย ยี่ห้อธรรมดา ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ยี่ห้อดี ๆ ราคาก็จะต่างกันมาก แม้จะมีวัตต์ต่างกันเพียง 50 วัตต์

เมื่อตัดสินใจที่จะใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ยี่ห้อดี ๆ แล้ว ก็ควรมีความรู้ในการคำนวณหาความต้องการวัตต์ที่แท้จริงของพีซี ว่าต้องการใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย กี่วัตต์กันแน่ จะได้ประหยัดเงินเอาไว้ซื้ออุปกรณ์อย่างอื่นที่จำเป็นจะดีกว่า



อย่างไรก็ตาม หากเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกำลังวัตต์ไม่เพียง ก็จะเป็นสาเหตุให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอาการรวน ต่าง ๆ เช่น เครื่องค้าง (Hang) หน้าจอขึ้นสีฟ้า หรือมีอาการวูบดับไปเฉย ๆ เป็นต้น จึงต้องคำนวณหาจำนวนวัตต์ที่เพียงพอด้วย

ลองดูตารางต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการคำนวณหาความต้องการวัตต์ของเครื่องคอมพิวเตอร์





อุปกรณ์

กำลังวัตต์ที่ใช้

CPU Pentium4 3.0 GHz

115

Mother board

25

Hard disk 120 GB SATA

30

CD-RW DVD ROM drive

30

RAM DDR400 1GB

10

Floppy disk drive

5

AGP Card

30

USB Device

3

Keyboard

1.25

Mouse

1.25

Cooling Fan

2

รวม

252.5



ตามตารางข้างบน จะเห็นว่าใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300 W ก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าใช้ฮาร์ดดิสก์ ตัว ซึ่งกินไฟ 30W รวมเป็น 282.5W ซึ่งใกล้กับ 300W ก็น่าจะใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 350W จึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นแต่ละรุ่นก็กินไฟต่างกัน ตารางข้างบนเป็นค่าประมาณเท่านั้น



เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ 
ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง Power Supply รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ ประมาณ 350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ Power Supply ขนาดไหน สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ โดยมีเว็บไซต์หลายที่ให้บริการคำนวณ เช่น  การใช้งานเพียงกรอกรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ลงไปก็จะคำนวณการใช้งานออกมาให้ทันที

ข้อแนะนำ : เมื่อคุณเปลี่ยน Mainboard เป็นรุ่นใหม่ซึ่งต้องใช้ 24 Pin Power Supply จะเป็นMainboard รุ่นใหม่ สำหรับ CPU รุ่นใหม่ เช่น Intel socket 775 ซึ่งจะใช้กำลังไฟสูง ดังนั้น Power Supply เก่าที่คุณมีอยู่ใช้งานมานานกำลังไฟที่จ่ายออกมาได้อาจจ่ายไฟไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เครื่อง รวน หรือ แฮงค์ ซึ่งจะเป็นปัญหาให้คุณแก้ไขต่อไป ทางที่ดี ควรเปลี่ยน Power Supplyใหม่ เป็นรุ่น 24 Pin และ สามารถจ่ายกำลังไฟได้สูงพอสมควร ( ควรจะเกิน 400 Watt ขึ้นไป ซึ่งโดยปกติจะเป็นค่าการจ่ายกำลังไฟโดยการคำนวณสูงสุด แต่โดยธรรมชาติของตัว Power Supplyแบบนี้ มักจะจ่ายกำลังไฟจริงไม่เต็มตามที่ระบุไว้ในรุ่นส่วนมากจะจ่ายกำลังไฟได้จริงประมาณ 50 - 70 % ของตัวเลขที่ระบุไว้บนแถบแสดงคุณสมบัติของ Power Supply นั้นๆ  ) โดยปกติ ราคาทั่วๆ ไปก็จะมีระดับราคาประมาณ 5 - 600 บาท ขึ้นไปจนถึงกว่า 1,000 บาท ต้นๆ ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ.. 

·         แต่หากคุณมีอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องจำนวนมาก และ ต้องการกำลังไฟสูง และ เสถียรมากๆ เช่น นำไปทำเป็น PC Server , Workgroup Server เป็นต้น ควรใช้ Power Supply ที่มีเสถียรภาพดีๆ เช่น ยี่ห้อ Enermax หรือ SevenTeam ซึ่งขนาด 250 - 300 Watt จะมีราคาประมาณ 1,800 - 2,000บาทขึ้นไป ตามกำลังที่จ่ายไฟได้และตามคุณภาพที่มีในรุ่นนั้นๆ ( Power Supply สองยี่ห้อนี้ จะมีคุณภาพสูง กำลังการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเต็มตามที่ระบุไว้ตามขนาดเสมอ)

·         โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยทั่วๆ ไปมักจะต้องการกำลังไฟในการทำงานอยู่ที่ประมาณ 135 - 250 Watt ส่วนคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักต้องการกำลังไฟประมาณ 250 - 380 Watt ครับ. หากมีอุปกรณ์พิเศษอื่นเพิ่มเติม เช่น Harddisk ที่มากกว่า ตัว , Optical Drive ที่มากกว่า ตัว การ์ดแสดงผล ( Display Card ) ที่มี GPU รุ่นใหม่ใช้กำลังไฟสูง มีชุดระบายความร้อนเฉพาะตัว เป็นต้น ก็ต้องจัดหา Power Supply ที่สามารถจ่ายกำลังไฟสูงขึ้น เพื่อจ่ายกำลังไฟให้เครื่องสามารถทำงานได้

·         หลักการเลือก Power Supply มาใช้งาน ควรเลือกเผื่อกำลังไฟในเครื่องที่ต้องการใช้ สัก30 % หมายถึง กำลังไฟที่จะใช้ในเครื่องควรจะเป็น 70 % ของกำลังไฟที่ Power Supplyที่เลือกมาใช้ครับ. เนื่องจากเมื่อระยะเวลาการใช้งานผ่านไป ขีดความสามารถในการทำงานของ Power Supply จะลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ Power Supply ที่เลือกใช้ด้วยครับ ถ้าเป็นเลือกที่ราคาถูก อัตราการลดกำลังก็จะสูงกว่า  รุ่นที่ราคาสูง จะมีความถดถอยในการจ่ายกำลังไฟที่น้อยกว่า ซึ่งหมายถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่านั่นเอง ครับ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ Power Supply 450w


วิเคราะห์ Power Supply 450w

1.Fuse 6.3A












2.Bridge บริดแบบสำเร็จรูป 4 ขา












3.Switching
-Diode 1N4148

               












-SBL2040


               











 -HBR20100

                 














-SBL3040
               











 -KN2907

               













 -W13009

                 












-C945

               













 -C1815











4.IC Regulator
 -SG6105Z












5.Capacitor
-C 470uF/200V












6.IC
 -SG6105Z

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อดี ข้อเสีย ของเพาเวอร์ซัพพลาย


ข้อดี ข้อเสีย ของเพาเวอร์ซัพพลาย


เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีเป็นอย่างไร
  1. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีความสามารถในการจ่ายไฟเต็ม maximum load ตามสติกเกอร์ที่ติดข้าง เพาเวอร์ซัพพลาย ที่เรียกว่า วัตต์แท้ หรือ วัตต์เต็ม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกมักติดสติกเกอร์เกินจำนวนวัตต์จริง เพราะผู้ใช้ไม่มีเครื่องมือวัดวัตต์ที่แท้จริง
  2. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน ไฟกระชาก โดยเสปกต้องระบุว่ามีคุณสมบัติ Over Voltage Protection (OVP) และ Over Current Protection (OCP)
  3. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีต้องจ่ายไฟอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PFC (Power Factor Correction)
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น มีพัดลมขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน (Heat sink) ที่ใหญ่กว่า
เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีดูที่ตรงไหน
  1. รูปลักษณ์ภายนอก ควรเป็นกล่องที่ทำจากเหล็กที่มีความหนาพอสมควร และเคลือบด้วยสารกันสนิม เพาเวอร์ซัพพลายราคาถูกจะประหยัดต้นทุนในส่วนนี้จึงใช้แผ่นโลหะที่บางกว่า
  2. น้ำหนักดี เพราะ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่วัตต์เต็มจะใช้ขดลวดทองแดงมากกว่า นอกนี้ครีบระบายความร้อนก็จะมีขนาดหรือพื้นที่กว้างกว่า ทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีมีน้ำหนักมากกว่า
  3. ป้ายสติกเกอร์ ที่ติดข้างกล่องจะต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น UL, FCC, Nemko (N), Semko (S), Demko (D) เป็นต้น
  4. ผลิตจากโรงงานที่เชื่อถือได้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิต เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนมาก บางโรงงานจะเน้นการขายราคาถูกจึงลดคุณภาพวัตถุดิบ
เพาเวอร์ซัพพลาย ดีมีประโยชน์อย่างไร
  1. ประหยัดเงินในระยะยาว เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูก จะให้วัตต์ต่ำ หรือต่ำกว่าสติกเกอร์ที่ติด เมื่อเราจะเพิ่มอุปกรณ์ในภายหลัง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง, ดีวีดี, เปลี่ยนวีจีเอที่ดีกว่าเดิม เราอาจต้องเปลี่ยน เพาเวอร์ซัพพลาย ด้วย หากมันจ่ายไฟได้ไม่พอ
  2. คอมพิวเตอร์มีความเสถียร แม้ในยามที่มี ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือสัญญาณรบกวนของมอเตอร์ จากเครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า โดยไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ดับ หรือถูกสัญญาณรบกวน
  3. ยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพต่ำสามารถทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสื่อมคุณภาพเร็วกกว่าที่ควร เนื่องจากการจ่ายไฟไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายไฟด้วยแรงดัน (volt) ที่สูงกว่าอุปกรณ์จะรับได้
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย มีอายุการใช้งานมากกว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟเกินกว่าที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จะจ่ายได้ อาจทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องได้ หรือทำให้เครื่องค้าง หรือขึ้นหน้าจอสีฟ้า แต่ถ้าใช้ไฟในระดับที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จ่ายไฟสูงสุดได้เป็นเวลานาน ๆ ต่อเนื่องกัน ก็อาจทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย ไหม้ หรือระเบิดได้เหมือนกัน ดังนั้นหากต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนวัตต์เท่าใดสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็ควรมั่นใจว่าได้วัตต์เต็มจำนวนจริง ๆ

ส่วนข้อดีข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย 300w
             ข้อดี
                 1. กินไฟน้อย
                 2. ใช้กับคอมพิวเตอร์สเปกธรรมดาทั่วไปได้
              ข้อเสีย
                  1. พ่วงอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ได้น้อย
                  2.กระแสออกน้อยกว่า 450w
                  3.เมื่อซัพพลายทำงานหนักซัพพลายจะร้อนมากอาจทำให้อุปกรณ์เสียได้
                  4.อุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟฟคงที่อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้เพราะกระแสไฟไม่พอจ่าย

ส่วนข้อดีข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย 450w
             ข้อดี
                 1. ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้
                 2. สามารถพ่วงอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ได้มากพอสมควร
                 3.ราคาใกล้เคียงกับเพาเวอร์ซัพพลาย 300w
                 4.อุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟคงที่ก็จะเสียหายน้อยเพราะกระแสมากพอสมควร
              ข้อเสีย
                  1.กินไฟเยอะกว่า 300w
                  2.ซัพพลายทำงานได้ดีกว่า 300w
                  
ข้อแตกต่าง 300w และ 450w ของ ฮาร์ดแวร์
          300w.
                1.เครื่องทำงานได้ไม่ค่อยเต็มที่เท่ารั่ยถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ
                2.ถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะแล้วไม่ทำการเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายให้มีกำลังวัตต์มากเมื่อใช้ไปนานๆก็อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเสียหานได้
          450w
                1.เครื่องทำงานได้เต็มที่เพราะมีกระแสไฟเพียงพอ
                2. ช่วงลดความเสียหายของอุปกรณ์บางชนิดได้
                


ข้อแตกต่าง 300w และ 450w ของ ซอฟต์แวร์
          300w.
                1.เวลาออกแบบงานกราฟฟิกอาจทำให้คอมเราค้างได้เพราะกระแแสไฟไม่เพียงพอ
                2.อาจทำงานล่าช้าเพราะคอมช้า
          450w
                1.เวลาออกแแบงานกราฟฟอกหรือโปรแกรมที่ใช้สเปกคอมเยอะๆ อาจทำงานได้ลื่น
                2.ช่วยลดเวลาในการทำงาน

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาการเสียของพาวเวอร์ซัพพลาย

 Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป

Power Supply มี 2 แบบ
          แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
          แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
                 2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
                 2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case (ราคาประมาณ 450 บาท)
                 2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ (ราคาประมาณ 600-800 บาท)

          * ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้

การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
          ดำ + ดำ = 0 V
          ดำ + แดง = 5 V
          ดำ + ขาว = -5 V
          ดำ + น้ำเงิน = -12 V
          ดำ + ส้ม = 5 V
          ดำ + เหลือง = 3.3 V
          ดำ + น้ำตาล = 12 V

          * เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -

          *AC=220 V (L กับ N)
          L1 380 Vac
          L2 380 Vac
          L3 380 Vac
          N Nutron , G ไม่มีไฟ
          *230W (23A) - 300W (30A)
          โดย W=V*I    


ส่วนของ Power Supply ที่สามารถตรวจซ่อมได้ 
          1. Fuse
          2. Bridge
          3. Switching
          4. IC Regulator
          5. C ตัวใหญ่
          6. IC    

Chart ประกอบการตรวจเช็ค Power Supply


วงจรเพาเวอร์ซัพพลาย (Block Diagram)  


วิเคราะห์อาการเสียของ Power Supply อย่างง่ายๆ

พาวเวอร์ซัพพลาย (power supply)
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก
ชนิด (ไม่ใช่เฉพาะคอมพิวเตอร์นะครับ) หน้าที่โดยรวมๆ
ของพาวเวอร์ซัพพลาย คือการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
เพื่อให้มันทำงานได้
ถ้าจะให้เปรียบก็คงเหมือนกับระบบย่อยอาหารของคนเรานั่นแหละครับ















พาวเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน
คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 5 โวลต์ และ 12
โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ
โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2
ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
ส่วนมากอาการเสียที่มักจะสันนิษฐานว่า เกิดจากพาวเวอร์ซัพพลาย
ก็คือ การเปิดเครื่องแล้วไม่ติด
พัดลมด้านหลังของพาวเวอร์ซัพพลายไม่หมุน
ในกรณีนี้ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
ที่เรียกว่ามัลติมิเตอร์
เราจะไม่สามารถหาพบได้เลยว่าพาวเวอร์ซัพพลายเสียที่จุดใด

รู้จักมัลติมิเตอร์



มัลติมิเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบที่เป็นเข็ม
และแบบตัวเลข (Digital) แบบที่เป็นเข็มนั้นมีราคาค่อนข้างถูก
แต่ว่าความเที่ยงตรงจะไม่ค่อยมี
ส่วนแบบดิจิตอลนั้นความเที่ยงตรงมีมากกว่า
แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย
สำหรับมือใหม่หัดซ่อมอย่างเราก็เล่นแบบเข็มก็พอครับ 












มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ใช้วัดได้ทั้งไฟตรง

ไฟสลับ สายไฟ และความต้านทาน ราคา

ถูกแต่ไม่ค่อยแม่นยำนัก

เอาละ เรามาดูวิธีการใช้มัลติมิเตอร์แบบง่ายๆ กันเลย
ก่อนอื่นให้คุณนำสายสีแดงเสียบในช่องที่เป็นสีแดง
และนำสายสีดำเสียบในช่องที่เป็นสีดำ (อย่าสลับกันนะครับ)
หน่วยวัดของมัลติมิเตอร์นั้น จะมีหน่วยเป็นโอห์ม
หมายถึงค่าของความต้านทานของตัวนำนั่นเอง
ตัวนำที่ดีที่สุดจะต้องไม่มีความต้านทานอยู่เลย

ส่วนถัดมาของมัลติมิเตอร์ คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสตรง หรือ
DC โวลต์ สายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกจ่ายออกมาเป็น 2
แรงดันคือ สายสีแดงจ่ายไฟ 5 โวลต์ และสายสีเหลือง จ่ายไฟ 12
โวลต์ เวลาที่คุณต้องการวัดว่า
มีกระแสไฟออกมาจากพาวเวอร์ซัพพลายหรือไม่
ให้คุณปรับตัวบิดไปที่ตัวเลขที่ใกล้เคียงสูงกว่า
สายเส้นที่คุณจะวัด เช่น คุณต้องการวัดสายแดงที่จ่ายไฟ 5 โวลต์
ให้คุณปรับไปที่เลข 10 เพื่อป้องกันมัลติมิเตอร์พัง
เพราะกระแสเกิน

อีกส่วนของมัลติมิเตอร์ ก็คือส่วนที่ใช้วัดไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
โดยปกติแล้วไฟบ้านเราจะใช้แรงดันไฟที่ 220 โวลต์
ใช้ในเวลาที่คุณต้องการจะวัดสายไฟที่ต่อออกจากไฟบ้านเข้าพาวเวอ
ร์ซัพพลายว่ามีไฟเข้าหรือไม่



หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย



พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX
นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240
โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด
แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output
เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์
อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ
220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ
ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply )
และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ
โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ
่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ
โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด
Switching
ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว
หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง 












รายละเอียดต่างๆ ของมัลติมิเตอร์












ส่วนประกอบต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
และหน้าที่การทำงาน

เอาละครับ เรารู้หลักการทำงานคร่าวๆ ของ Power supply แล้ว
เรามาดูถึงอาการเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ถ้าจะวิเคราะห์อาการเสียอย่างง่ายๆ ก็มี เช่น

  • เปิดแล้ว พัดลมไม่หมุนแต่เครื่องติด


    หากอาการแบบนี้ให้คุณทราบไว้เลยว่า
    พัดลมระบายความร้อนในพาวเวอร์ซัพพลายของคุณนั้นมันเกิดอาการเสี
    ยซะแล้ว อาจเป็นเพราะเกิดการฝืดเนื่องจากมีฝุ่น
    หรือหยากไย่เข้าไปค้างอยู่ หากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้
    พาวเวอร์ซัพพลายของคุณพังได้ วิธีแก้ก็คือให้คุณ
    ตัดเอาพัดลมพร้อมสายไฟออกแล้วเดินไปที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอ
    นิกส์ (แถวบ้านหม้อก็ได้)
    แล้วยื่นพัดลมให้คนขายดูเขาก็จะหยิบตัวใหม่ที่เหมือนกันเปี๊ยบม
    าให้คุณ คุณก็เอากลับไปต่อกับตัวพาวเวอร์ได้เหมือนเดิม
    แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า
    ราคาพัดลมกับพาวเวอร์ซัพพลายตัวใหม่นั้นมีราคาใกล้เคียงกันมากท
    ีเดียว แต่ลองหัดซ่อมดูก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนะครับ

  • เปิดแล้วเครื่องไม่ติดพัดลมไม่หมุน


    หากเกิดอาการอย่างนี้อย่าเพิ่งสรุปนะครับว่า
    พาวเวอร์ซัพพลายของคุณเสีย
    เพราะอย่างที่บอกไว้ในหัวข้อข้างต้นก็คือ Power supply แบบ
    Switching นั้น
    สามารถที่จะตัดกระแสไฟได้ถ้าหากมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากตัวมันไปช
    ำรุด
    ดังนั้นวิธีเช็กก็คือให้คุณถอดอุปกรณ์ที่โหลดไฟจากพาวเวอร์ซัพพ
    ลายทั้งหมดออกมาก่อนแล้วเปิดดู หากพัดลมติด
    และใช้มัลติมิเตอร์วัดดู
    ถ้าเข็มแสดงว่ามีไฟเลี้ยงเข้าแสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของ
    คุณนั้นเกิดอาการชำรุดหรือช็อต
    วิธีทดสอบก็คือให้เสียบไฟโหลดนั้นทีละตัว
    แล้วเปิดดูหากอุปกรณ์ชิ้นไหนชำรุดพาวเวอร์ซัพพลายก็จะไม่หมุน
    (ตัวอย่างที่พบกันบ่อยๆ ก็คือคุณประกอบเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
    โดยที่ไม่ได้ใช้แผ่นโฟมหรือขาพลาสติกรอง
    ทำให้ลายวงจรของเมนบอร์ด
    เกิดการสัมผัสกับตัวเคสที่เป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้เกิดการลัดวงจรขึ
    ้น
    ดังนั้นถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ให้คุณรีบปิดตัวพาวเวอร์ซัพพลายโดยเ
    ร็ว และใช้แผ่นโฟมหรือแหวนรองน็อต
    ใส่ก่อนทุกครั้งที่ประกอบเครื่องลงเคส
    ไม่งั้นคุณอาจต้องน้ำตาร่วงเพราะเสียเงินซื้อเมนบอร์ดใหม่)











    วิธีวัดพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้ามีเข็มขึ้น
    แสดงว่าพาวเวอร์ซัพพลายของคุณปกติ



    สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่ฟิวส์ที่อยู่ภาพในตัวพาวเวอร์ซัพ
    พลายเองขาด วิธีดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ก็ให้ดูด้วยตาเปล่า
    หรือถ้ามีเขม่าจบในฟิวส์มากๆ
    ก็ให้ถอดฟิวส์ออกมาวัดโดยวัดจากค่าความต้านทานในฟิวส์
    ตรงนี้คุณต้องถอดออกมาจากวงจรนะครับ ถึงจะวัดได้
    ถ้าไม่มีความต้านทานขั้นก็แสดงว่าฟิวส์ขาด แต่ถ้าฟิวส์ไม่ขาด
    แล้วยังไม่มีไฟเข้าที่พาวเวอร์ซัพพลายอีก สาเหตุน่าจะมาจาก
    สายไฟที่คุณใช้ต่อไฟกระแสสลับเข้าสู่ไฟบ้านมีอาการชำรุด ขาดใน
    หรือแผงวงจรร หรือ
    อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งของพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหาย